เพิ่มเพื่อน

แนวทางการกำหนดระเบียบการลา (Leave Policy Guides)

ตัวอย่างนโยบายการลางานอย่างง่ายในประเทศไทย

เอกสารฉบับนี้แสดงแนวทางนโยบายการลางานอย่างง่ายด้วยคำอธิบายที่ครอบคลุมถึงรูปแบบของการลางานของพนักงานสำหรับบริษัทในประเทศไทยซึ่งเป็นการอธิบายโดยย่อ และมีคำอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่เห็นเป็นประโยชน์ โดยสามารถพิมพ์เอกสารนี้ หรือปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับข้อบังคับของบริษัทของคุณ และพิมพ์ใหม่ (เป็นภาษาไทย) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบการทำงานของบริษัทของคุณ 

การเตรียมระเบียบการลาที่ดี จะทำให้แผนกบุลคลมีแนวทางในการบริหารและจัดการกับความเสี่ยงโดยการร่วมมือกับนายจ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวมไปถึงการสิ้นสุดการจ้างงานของพนักงานด้วย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยบริษัทในการตัดสินใจเกี่ยวกับข้อบังคับการลางาน ดังนั้นเนื้อหาในเอกสารนี้จึงจัดทำเพื่อประโยชน์ในการเสนอแนวทางเท่านั้น โปรดติดต่อรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญการบริหารงานบุคคล หากต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

คุณสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ Totem Leave ซึ่งมีข้อมูลที่อัพเดทเกี่ยวกับการบริหารการลางาน รวมทั้งวิธีการที่จะทำให้ความปวดหัวเรื่องการบริหารการลางานหมดไป ด้วยการย้ายข้อมูลทั้งหมดไปไว้ที่ cloud โดยจ่ายค่าบริการรายปี ซึ่งจะมาพร้อมกับรายงานต่างๆที่ครบถ้วน รายการเตือนความจำ (reminders) และแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

นโยบายการลางาน

ลาพักร้อน

  • พนักงานทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับวันลาพักร้อน
  • วันลาพักร้อนเริ่มสะสมตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท
  • พนักงานไม่สามารถลาพักร้อนได้ หากอยู่ในช่วงทดลองงาน
  • พนักงานได้รับวันลาพักร้อนทั้งหมด 7 วันต่อปี สำหรับ 5ปีแรกของการทำงาน (หากเข้าทำงานไม่ครบ 1 ปีจะลดหลั่นตามสัดส่วนไป)
  • เมื่อคำนวณระยะเวลาการทำงาน ต้องใช้วันเริ่มต้นของพนักงานในการคำนวณระยะเวลาของการทำงาน หากมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิที่พึงได้ในระหว่างปีหนึ่งๆ การคำนวณวันลาจะเป็นสัดส่วนตามระยะเวลาการทำงาน โดยใช้วันเริ่มต้นการทำงานเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงสิทธิสำหรับปีนั้น
  • พนักงานที่ทำงานระหว่าง 6 ถึง 10 ปีที่บริษัท จะได้รับวันลาพักร้อนทั้งหมด 12 วัน
  • พนักงานที่ทำงานมากกว่า 11 ปีที่บริษัท จะได้รับวันลาพักร้อนทั้งหมด 15 วัน
  • พนักงานสามารถขอทบวันลาพักร้อนไปยังปีถัดไป โดยผู้จัดการของพนักงานนั้น สามารถอนุญาตให้ทบวันลาพักร้อนได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ของวันลาพักร้อนต่อปีของพนักงาน วันลาพักร้อนที่ทบมาจากปีก่อนจะต้องใช้ภายใน 3 เดือนแรกของปีถัดไป
  • หากพนักงานไม่ใช้วันลา ผู้จัดการสามารถตัดสินใจที่จะให้พนักงานลาหยุด หรือจ่ายพนักงานสำหรับวันลาพักร้อนที่ไม่ได้ใช้  1
  • กการคำนวณวันลาพักร้อนนั้น เป็นการคำนวณแบบเต็มทั้งปี โดยเริ่มจากต้นปี 2

ลาป่วย

  • พนักงานทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับวันลาป่วยพนักงานทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับวันลาป่วย
  • วันลาป่วยเริ่มสะสมตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทวันลาป่วยเริ่มสะสมตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท
  • พนักงานได้รับวันลาป่วยทั้งหมด 30 วันต่อปีพนักงานได้รับวันลาป่วยทั้งหมด 30 วันต่อปี
  • เมื่อลาป่วยพนักงานต้องระบุเหตุผลเมื่อลาป่วยพนักงานต้องระบุเหตุผล
  • หากลาป่วยติดต่อกัน หากลาป่วยติดต่อกัน 2 วันหรือมากกว่านั้น พนักงานต้องแสดงใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับ
  • การคำนวณวันลาป่วย เริ่มคำนวณใหม่ตอนต้นปีการคำนวณวันลาป่วย เริ่มคำนวณใหม่ตอนต้นปี
  • วันลาป่วยที่ไม่ได้ใช้ ไม่สามารถทบไปยังปีถัดไปได้วันลาป่วยที่ไม่ได้ใช้ ไม่สามารถทบไปยังปีถัดไปได้
  • พนักงานที่กำลังทดลองงาน สามารถลาป่วยได้พนักงานที่กำลังทดลองงาน สามารถลาป่วยได้

ลาคลอด

  • พนักงานที่กำลังตั้งครรภ์มีสิทธิที่จะลาคลอดได้
  • พนักงานมีสิทธิในการลาคลอด ตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท
  • พนักงานมีสิทธิที่จะลาคลอดได้ 98 วันต่อการตั้งครรภ์ครั้งหนึ่งๆ 3
  • พนักงานจะได้รับค่าจ้างในช่วงการลาคลอดเพียง 45 วัน
  • การลาคลอดนั้นสามารถรวมไปถึงการลาก่อนคลอดได้ด้วย
  • วันลาคลอดรวมวันหยุดราชการ และวันหยุดเสาร์อาทิตย์
  • พนักงานที่ลาคลอดต้องแสดงใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับ
  • วันลาคลอดที่ไม่ได้ใช้ ไม่สามารถทบไปยังปีต่อไปได้

ลากิจ 4

  • พนักงานทุกคนมีสิทธิลากิจได้ 3วันต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจให้ค่าจ้างในวันลากิจ และอาจขยายวันลากิจได้
  • การลากิจจะสามารถใช้ในกรณีที่ต้องลาไปทำเอกสารทางราชการที่ไม่สามารถทำในวันหยุดหรือวันหยุดราชการได้ ตัวอย่างของการลากิจมีดังต่อไปนี้
  • การลากิจเพื่อไปทำธุระกิจ จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบริษัทนั้นๆ
  • วันลากิจที่ไม่ได้ใช้ ไม่สามารถทบไปยังปีถัดไปได้
  • พนักงานที่กำลังทดลองงานมีสิทธิในการใช้วันลากิจ

ลาฝึกอบรบ 5

  • พนักงานทุกคนมีสิทธิลาฝึกอบรมได้ 5วัน หลังจากทำงานได้แล้ว 6 เดือน
  • ต้องยื่นใบสมัคร และได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบริหารก่อนที่จะลาฝึกอบรมได้
  • พนักงานจะได้รับค่าจ้างในวันลาฝึกอบรม
  • วันลาฝึกอบรมสามารถขยายเพิ่มเติมได้ โดยขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหาร
  • วันลาฝึกอบรมไม่สามารถทบไปยังปีปฏิทินถัดไปได้

ลารับราชการทหาร 6

  • พนักงานชายมีสิทธิที่จะลารับราชการทหารได้สูงสุด 60 วันต่อปีปฏิทิน
  • สิทธิในการลา เริ่มต้นหลังจากวันที่พนักงานได้เริ่มทำงานที่บริษัท
  • พนักงานต้องแสดงใบรับรองจากการทหารก่อนการลา เพื่อสนับสนุนคำขอในการลา
  • วันลาไม่สามารถทบไปยังปีปฏิทินถัดไปได้
  • พนักงานที่กำลังฝึกงานมีสิทธิในการใช้วันลารับราชการทหาร

ลาเพื่อทำหมัน 7

  • พนักงานทุกคนมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้
  • ใบยื่นขออนุมัติ ต้องแนบใบรับรองแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งระบุถึงวันลาที่แพทย์แนะนำ
  • การลานี้สามารถลาได้เพียงครั้งเดียว ในช่วงการทำงานของพนักงาน
  • พนักงานที่กำลังฝึกงานไม่สามารถลาเพื่อทำหมันได้

เชิงอรรถ:

1. ศาลฎีกาของประเทศไทยได้ตัดสินว่านายจ้างมีความผิดมาตรา 30 ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหากนายจ้างระบุในระเบียบการทำงานว่า วันลาพักร้อนไม่สามารถที่จะทบไปยังปีถัดไปได้ ดังนั้นแม้ในระเบียบการทำงานจะไม่ได้ระบุไว้ พนักงานมีสิทธิที่จะขอรับค่าจ้างวันหยุดสำหรับวันลาพักร้อนที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งทบมาจากปีที่แล้ว นอกจากนี้ นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะหัก หรือลดสิทธินั้นไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

2.  หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือสามารถคำนวนตามรายเดือนได้

3. เพิ่มวันลาจาก 90วัน ตามกฏหมายคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) 2562

4. วันลากิจนั้นแตกต่างจากวันลาพักร้อน จึงต้องมีการกล่าวถึงโดยแยกออกจากกันภายในระเบียบการทำงาน กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดการลากิจได้ 3 วัน และได้รับค่าจ้าง นายจ้างสามารถกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับวันลากิจได้อย่างอิสระในระเบียบการทำงาน นายจ้างควรจะตั้งหลักเกณฑ์ วันที่สามารถลาได้ต่อปี กระบวนการขออนุมัติ และระบุว่าพนักงานจะได้รับค่าจ้างในกรณีที่ลากิจหรือไม่ หลังจากที่ได้อนุมัติวันลากิจเรียบร้อยแล้ว นายจ้างไม่สามารถที่จะหักวันลาเหล่านั้นออกจากวันลาพักร้อนได้ (Chitchai Punsan of Tilleke & Gibbins International Ltd)

5. นายจ้างควรจะพิจารณาให้วันลาฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายวันลา และสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมพนักงาน จากนั้นให้เก็บรักษาข้อมูลการฝึกอบรมพนักงานอย่างถูกต้อง โดยสิ่งนี้จะมอบประโยชน์ในการจ้างงานซึ่งสามารถใช้โฆษณาได้ตอนคัดเลือกพนักงาน

6. เป็นข้อบังคับตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานของไทย

7. เป็นข้อบังคับตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานของไทย

Scroll to Top